ACCOUNTING SERVICES
สำนักงานบัญชีคุณภาพ STA
สำนักงานบัญชีคุณภาพ STA ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้รับรางวัลและใบประกาศรับรองจากทาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และหอการค้าไทย เราถือเป็นสำนักงานบัญชีแห่งแรกที่ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย และรางวัลธรรมาภิบาลธุรกิจดีเด่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อสังคม และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลักการเหล่านี้ได้สะท้อนผ่านนโยบายและกิจกรรมต่างๆ ที่ทางสำนักงานบัญชีคุณภาพ STA ดำเนินการมาโดยตลอด
งานบริการจัดทำบัญชี
(รายเดือน/รายปี)
รายละเอียดบริการ
STA เป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพที่ให้บริการรับทำบัญชีและภาษีอากรอย่างครบวงจร โดยพนักงานบัญชีที่ผ่านการอบรมทางบัญชีเป็นอย่างดี และท่านมั่นใจได้ว่า งานบัญชีของท่านจะตรงตามมาตราฐานบัญชีของไทยและสากล
การบริการรับทำบัญชี ภาษีอากร ประกันสังคม ปิดงบ วางระบบบัญชี
บริการจัดทำบัญชีและภาษีอากร ดำเนินการโดยผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด มีประสบการณ์ในระดับมืออาชีพ ทำให้การจัดทำบัญชี และภาษีอากร ถูกต้อง และทันเวลา เป็นผลให้ลูกค้าของเราสามารถมุ่งเน้นที่กิจกรรมหลักได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานบัญชี ไม่ต้องลงทุนเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมบัญชีเพิ่ม พร้อมกันนี้ สำนักงานบัญชีคุณภาพ STA เราทำงานใกล้ชิดกับลูกค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามกระบวนการจัดทำบัญชี และภาษีอากร
ประโยชน์ที่จะได้รับ
"1. ลดภาระในการควบคุมและบริหารงานด้านบัญชี เช่น การลาออกของพนักงานสายบัญชี การขึ้นเงินเดือนหรือจ่ายโบนัสให้แก่พนักงาน การจ่ายเงินเดือนสูง ๆ สำหรับพนักงานบัญชีที่มีความรู้ความสามารถด้านบัญชีและภาษีอากร
2. เพื่อให้ได้งบการเงินที่ถูกต้องและเชื่อถือได้และมีการจัดทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายการบัญชีและประมวลรัษฎากร
3. เพื่อวางแผนภาษีอากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงในการถูกสรรพากรตรวจสอบ ได้อย่างถูกต้อง ทันเวลา
4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนและตัดสินใจของธุรกิจ
5. ช่วยในการวางแผนกำไรและควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัท
6. สามารถติดต่อสอบถามทางด้านการจัดทำบัญชีและภาษีได้ตลอดโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม
7. การบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
8. เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
หลักเกณฑ์ในการคิดค่าบริการ
ค่าบริการที่เราคิดกับลูกค้าแต่ละรายจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและจำนวนเอกสารบัญชีที่มากน้อย ของแต่ละกิจการ และประเภทของธุรกิจ ประกอบกับความยากง่ายและความซับซ้อนในการจัดทำบัญชีและภาษี รวมทั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ลูกค้าต้องการ
ค่าบริการที่ทางบริษัทฯ กำหนดไว้เบื้องต้น ถือได้ว่ามีความเป็นธรรมพอควรกับทั้งลูกค้าและบริษัทฯ เพื่อให้เราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพื่อให้ท่านได้รับบริการที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามมาตราฐานการทำงานที่ดี
ขั้นตอนในการทำงาน
1. รับและคัดแยกเอกสาร
1.1 รับเอกสารหรือไฟล์ - บัญชีและภาษี , Statement
1.2 คัดแยกเอกสารตามระบบ
1.3 นำเอกสารเข้าแฟ้ม / ที่เก็บจัดเก็บเอกสาร
2. ทำภาษีและประกันสังคม
2.1 บันทึกข้อมูล เพื่อจัดทำ ภงด.1, ภ.ง.ด.3 , ภ.ง.ด.53 และ ประกันสังคม
2.2 จัดทำภพ.36 / ภงด.54 (ถ้ามี)
2.3 บันทึกใบกำกับภาษีขาย - ภาษีซื้อ เพื่อจัดทำ ภพ.30
2.4 ตรวจสอบความถูกต้องของ ภ.ง.ด.1 ,3 ,53 ,54 , ภพ.30 , 36 และประกันสังคม
2.5 แจ้งยอดลูกค้าค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย,ภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกันสังคม
2.6 ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกันสังคม
2.7 ชำระภาษี / สั่งพิมพ์ใบเสร็จ
2.8 ส่งสำเนาแบบภาษีและประกันสังคม พร้อมใบเสร็จให้แก่ลูกค้า
3. บันทึกบัญชี
3.1 บันทึกรายการใบสั่งขาย (สินค้า/บริการ)
3.2 บันทึกรายการขายเชื่อ (สินค้า/บริการ)
3.3 บันทึกรายการขายสด (สินค้า/บริการ)
3.4 บันทึกรายการรับชำระเงิน
3.5 ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของภาษีขายกับภพ.30/รายงาน
3.6 ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย
3.7 บันทึกรายการฝากเงินสดเข้าธนาคาร
3.8 บันทึกรายการนำฝากเช็คเข้าธนาคาร
3.9 บันทึกรายการเช็ครับที่ผ่าน
3.10 บันทึกรายได้ดอกเบี้ยรับจากธนาคาร
3.11 บันทึกรายการเงินโอนระหว่างธนาคาร
3.12 บันทึกรับเงินบัตรเครดิตเข้าธนาคาร
3.13 บันทึกรายการใบสั่งซึ้อ (สินค้า/บริการ)
3.14 บันทึกรายการซื้อเชื่อ (สินค้า/บริการ)
3.15 บันทึกรายการซื้อสด (สินค้า/บริการ)
3.16 บันทึกรายการจ่ายชำระหนี้
3.17 ตรวจสอบความถูกต้องของภาษีหัก ณ ที่จ่ายกับ ภ. ง.ด.1 ,3 , 53 , 54 /รายงาน
3.18 ตรวจสอบความถูกต้องของภาษีซื้อกับภพ.30,36/รายงาน
3.19 บันทึกรายการถอนเงินสดจากธนาคาร
3.20 บันทึกรายการเช็คจ่ายที่ผ่าน
3.21 บันทึกค่าธรรมเนียม,ดอกเบี้ยจ่ายธนาคาร
4. ปิดบัญชีรายเดือน / รายปี
4.1 ตรวจสอบรายการสินทรัพย์ที่มีการซื้อเพิ่ม
4.2 บันทึกรายการรายละเอียดสินทรัพย์
4.3 Post GL บันทึกค่าเสื่อมราคา
4.4 บันทึกรายการค้างรับ - ค้างจ่าย
4.5 บันทึกรายการรับล่วงหน้า - จ่ายล่วงหน้า
4.6 บันทึกรายการเงินเดือนค้างจ่าย
4.7 ปิดบัญชีภาษีซื้อ-ภาษีขาย
4.8 กระทบยอดสินค้าคงเหลือเปรียบเทียบกับไฟล์ลูกค้าหรือยอดคงเหลือจริง
4.9 ปิดบัญชีสินค้าคงเหลือต้นงวด-ปลายงวด
4.10 Run Multicurrency (Revalues SO,PO)
5. สอบทานและทำรายงาน
5.1 ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการทำบัญชีทั้งหมด
5.2 ตรวจสอบรายละเอียดบัญชีเงินฝากธนาคารกับแยกประเภท
5.3 ตรวจสอบรายละเอียดลูกหนี้การค้ากับแยกประเภท
5.4 ตรวจสอบรายละเอียดเจ้าหนี้การค้ากับแยกประเภท
5.5 ตรวจสอบรายละเอียดเช็ครับในมือกับแยกประเภท
5.6 ตรวจสอบรายละเอียดเช็คจ่ายในมือกับแยกประเภท
5.7 ตรวจสอบรายละเอียดสินทรัพย์กับแยกประเภท
5.8 ทำรายงานประจำเดือนส่งลูกค้า
6. ส่งคืนเอกสาร
6.1 จัดเตรียมและรวบรวมเอกสารเพื่อส่งคืนลูกค้า
6.2 ตรวจสอบเอกสารก่อนส่งคืนเอกสารให้ลูกค้า
6.3 ส่งคืนเอกสารให้ลูกค้า"
เอกสารที่ต้องจัดเตรียมให้บริษัทฯ
1. ข้อมูลเบื้องต้นใช้สำหรับเตรียมฐานข้อมูล
1.1 สำเนาใบเสนอราคาค่าบริการทำบัญชี
1.2 สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท
1.3 สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์
1.4 สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ บอจ.2
1.5 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ.5 (ฉบับล่าสุด)
1.6 สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
1.7 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรรมการ)
1.8 สำเนารหัสยื่นภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.9 สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 (กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
1.10 แผนที่บริษัทฯ
2. เอกสารที่ใช้สำหรับการทำบัญชี
2.1 เอกสารประกอบรายการขาย เช่น ใบกำกับภาษี,ใบแจ้งหนี้,ใบเสร็จรับเงิน
2.2 เอกสารประกอบรายการซื้อ เช่น ใบกำกับภาษี,ใบส่งของ,ใบเสร็จรับเงิน,ใบแจ้งหนี้
2.3 เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินที่ไม่มีภาษีซื้อ เช่น ค่าน้ำมัน,ค่าทางด่วน,ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
2.4 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ในกรณีจ่ายเงิน)
2.5 หนังสือรับรองการถูกหักภาษีณที่จ่าย (กรณีที่รับเงิน)
2.6 เอกสารประกอบการรับเงินจากลูกค้า เช่นใบสำคัญรับ หรือใบนำฝากธนาคาร (Pay in slip)
2.7 เอกสารประกอบการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ เช่นใบสำคัญจ่าย หรือใบถอนเงินจากธนาคาร
2.8 Bank Statement สำหรับบัญชีกระแสรายวัน และสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของกิจการ
2.9 รายงานสต็อกสินค้าและวัตถุดิบ
3. เอกสารขอเพิ่มเติม ( กรณีเปิดกิจการมากกว่า 1 ปี )
3.1 หนังสือสัญญาต่าง ๆ
3.2 แบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3)
3.3 งบการเงินพร้อมรายงานของผู้สอบบัญชี
3.4 งบทดลอง
3.5 รายละเอียดลูกหนี้การค้า ณ วันสิ้นงวด
3.6 รายละเอียดเจ้าหนี้การค้า ณ วันสิ้นงวด
3.7 ทะเบียนสินทรัพย์
3.8 รายละเอียดเช็ครับ
3.9 รายละเอียดเช็คจ่าย
3.10 รายละเอียดค้างรับ/ค้างจ่าย
3.11 รายละเอียดรับล่วงหน้า/จ่ายล่วงหน้า
3.12 รายงานสต๊อกสินค้าและวัตถุดิบ
ระยะเวลาในการรับเอกสาร
ทางบริษัทฯ จะส่งพนักงานไปรับเอกสารภายในวันที่ 3 ของเดือนถัดไป ทั้งนี้เพื่อบริษัทฯจะได้จัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภ.ง.ด.1,3,53 และภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30, ภ.ธ.40 เพื่อนำส่งกรมสรรพากรให้ทันภายในวันที่ 7 และ 15 ของเดือนถัดไปตามลำดับ
คำถามที่พบบ่อยๆ
1)
ถาม : โดยปกติแล้ว STA คิดค่าบริการอย่างไร ?
ตอบ : ราคาบริการแก่ลูกค้าแต่ละรายจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับบริมาณงาน และ จำนวนเอกสารที่มากน้อย ของแต่ละกิจการ และประเภทของธุรกิจ ประกอบ กับ ความยากง่ายและความซับซ้อนในการจัด ทำบัญชีและเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ผู้ประกอบการต้องการ
2)
ถาม : รอบบัญชีปกติคืออะไร ?
ตอบ : รอบบัญชี เริ่มต้นเดือนมกราคม ไปจนสิ้นสุดสิ้นปีธันวาคม
3)
ถาม : ทำไม STA ถึงเชี่ยวชาญในเรื่องการลงบันทึกบัญชี ?
ตอบ :
1. บันทึกรายการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ที่กรมสรรพากรยอมรับ
2. เรามีลูกค้าที่หลากหลายประเภทธุรกิจ ทำให้เราเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจการเป็นอย่างดี และนำมาปรับปรุงใช้เพื่อให้การลงบันทึกบัญชีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4)
ถาม : มีบริการทำบัญชีรายปีหรือไม่ ?
ตอบ : เรามีบริการทำบัญชี 4 ประเภท คือ รายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี รายปี
5)
ถาม : STA รับทำบัญชีในต่างจังหวัดหรือไม่ ?
ตอบ : ขณะนี้เรายังไม่มีบริการค่ะ เรารับทำบัญชีเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หาก STA มีสาขาในต่างจังหวัด ทางเราจะแจ้งให้ทราบ
6)
ถาม : ชำระค่าบริการอย่างไร ?
ตอบ : ลูกค้าที่สนใจบริการของเราทางลูกค้าจะต้องชำระค่าบริการทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
7)
ถาม : ทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกภาษีย้อนหลังได้ ?
ตอบ : การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อมูลที่สอดคล้อง กับ สภาพที่แท้จริงของกิจการ จะช่วยให้กิจการมีข้อมูลในการชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ และช่วยลดภาระในการถูกประเมินภาษีย้อนหลังได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม