top of page

FAQs
คำถามที่พบบ่อยๆ

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทำบัญชี (รายเดือน/รายปี)

โดยปกติแล้ว STA คิดค่าบริการอย่างไร ?

ราคาบริการแก่ลูกค้าแต่ละรายจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับบริมาณงานและจำนวนเอกสารที่มากน้อย ของแต่ละกิจการ และประเภทของธุรกิจ ประกอบกับความยากง่ายและความซับซ้อนในการจัด ทำบัญชีและเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ผู้ประกอบการต้องการ ค่ะ

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทำบัญชี (รายเดือน/รายปี)

รอบบัญชีปกติคืออะไร ?

รอบบัญชี เริ่มต้นเดือนมกราคมไปจนสิ้นสุดสิ้นปีธันวาคม ค่ะ

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทำบัญชี (รายเดือน/รายปี)

ทำไม STA ถึงเชี่ยวชาญในเรื่องการลงบันทึกบัญชี ?

1. เพราะเราใช้โปรแกรมบัญชีที่จัดทำขึ้นเฉพาะสำหรับสำนักงานบัญชีและได้รับผ่านการรับรองมาตราฐานของสภาวิชาชีพบัญชี

2. เรามีลูกค้าที่หลากหลายประเภทธุรกิจ ทำให้เราเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจการเป็นอย่างดี และนำมาปรับปรุงใช้เพื่อให้การลงบันทึกบัญชีมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทำบัญชี (รายเดือน/รายปี)

มีบริการทำบัญชีรายปีหรือไม่ ?

เรามีบริการทำบัญชี 4 ประเภท คือ รายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี รายปี ค่ะ

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทำบัญชี (รายเดือน/รายปี)

STA รับทำบัญชีในต่างจังหวัดหรือไม่?

ขณะนี้เรายังไม่มีบริการนี้ค่ะ เรารับทำบัญชีเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หาก STA มีสาขาในต่างจังหวัด ทางเราจะแจ้งให้ทราบ

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทำบัญชี (รายเดือน/รายปี)

ชำระค่าบริการอย่างไร?

ลูกค้าที่สนใจบริการของเราทางลูกค้าจะต้องจ่ายค่าบริการทุก ๆ สิ้นเดือน ณ เดือนถัดไป

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทำบัญชี (รายเดือน/รายปี)

ทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกภาษีย้อนหลังได้?

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ จะช่วยให้กิจการมีข้อมูลในการชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ และช่วยลดภาระในการถูกประเมินภาษีย้อนหลังได้

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทะเบียน (จัดตั้ง, เปลี่ยนแปลง, เลิก)

ควรจดเป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนไหนดี?

ควรพิจารณาปัจจัยความจำเป็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าควรจะจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบใด ค่ะ เช่น ธุรกิจเจ้าของคนเดียว หากคุณมีเงินทุนเอง และต้องการความคล่องตัวสูง , ห้างหุ้นส่วนจำกัด หากคุณมีญาติพี่น้องหรือเพื่อนมาร่วมลงทุนด้วย หรือ ถ้าหากกลุ่มลูกค้าของคุณเป็นองค์กรธุรกิจ หน่วยงานราชการ ที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ก็ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นต้น

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทะเบียน (จัดตั้ง, เปลี่ยนแปลง, เลิก)

เปิดบริษัทฯ แล้วจะจดทุนเท่าไหร่ ถึงจะดี?

พิจาณาวิเคราะห์ดูกิจการของท่านด้วยว่า คุณจะประกอบกิจการธุรกิจนี้ ต้องใช้ทุนประมาณเท่าไหร่ และเพื่อเป็นความน่าถือของบริษัทด้วย หากท่านต้องการทำธุรกิจกับหน่วยงานรัฐ บางครั้งหน่วยงานรัฐก็อาจจะดูทุนจดทะเบียนเพื่อใช้ในการจ้างงาน

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทะเบียน (จัดตั้ง, เปลี่ยนแปลง, เลิก)

ทำไมต้องจดทุน 1 ล้านบาท?

อาจจะเป็นเพราะว่า การค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท จะคิดตามอัตราของทุนจดทะเบียน โดยทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จะเสียค่าธรรมเนียม 5,000 บาท ซึ่งหากคุณจดทุนน้อยกว่า 1 ล้าน ก็จะเสียในอัตราที่เท่ากัน

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทะเบียน (จัดตั้ง, เปลี่ยนแปลง, เลิก)

เปิดบริษัทใหม่ จะต้องทำอะไรบ้าง?

1. ทำบัญชีและงบการเงิน

- จัดทำบัญชีตามกฎหมาย นับแต่วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งชนิดบัญชีที่ต้องจัดทำ ได้แก่ บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท รายละเอียดประกอบงบ เป็นต้น

- จัดให้มีการปิดบัญชี ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน แล้วจัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เพื่อประชุมอนุมัติงบการเงิน ภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบบัญชี พร้อมกับยื่นงบการเงินต่อสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุมอนุมัติงบการเงิน

- เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีโดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

2. ทำใบหุ้นและสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น

- ต้องจัดทำใบหุ้น (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวาโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

- ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

คำถามในหมวดหมู่ :
งานทะเบียน (จัดตั้ง, เปลี่ยนแปลง, เลิก)

จะต้องเตรียมอะไรบ้างในการจดทะเบียนบริษัท?

- คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
- หนังสือบริคณ์สินธิ
- รายจดทะเบียนจัดตั้ง
- รายละเอียดกรรม
- แบบจองชื่อนิติบุคคล
- หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- สำเนารายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการพร้อมลายมือชื่อ
- สำเนารายงานการกระชุมตั้งบริษัท
- สำเนาข้อบังคับ
- สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
- กรณีคนต่างด้านลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50
- สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
- สำเนาบัตรประชาชน
- หนังสือมอบอำนาจ

คำถามในหมวดหมู่ :
ส่งพนักงานบัญชีไปช่วยงานลูกค้า (Out Source)

การ outsource คืออะไร?

การโอนย้ายหน้าที่การทำงานและความรับผิดชอบ อาจเป็นในส่วนกระบวนการทางธุรกิจ หรือการจัดการกับโครงสร้างต่างๆ โดยให้เป็นภาระหน้าที่ของผู้ให้บริการภายนอก การ outsource คือการแบ่งเบาภาระขององค์กรให้มีความคิด เวลา ทุ่มเททรัพยากรกับสิ่งสำคัญ

คำถามในหมวดหมู่ :
ส่งพนักงานบัญชีไปช่วยงานลูกค้า (Out Source)

หลักเกณฑ์อะไรในการกำหนดตัดสินใจว่า กระบวนการใดควร outsource?

สิ่งที่กิจการควรพิจารณาทำการ Outsource คือ

1. ความสำคัญของงานนั้นๆต่อบริษัท ( เป็น core process หรือไม่, เป็นหัวใจของบริษัทหรือไม่) และ

2. องค์กรมีความสามารถในกระบวนการ/กิจกรรมนั้นมากขนาดไหน ( ซึ่งความสามารถนี้ รวมถึง เงินทุน คน เครื่องจักร ..)

คำถามในหมวดหมู่ :
ส่งพนักงานบัญชีไปช่วยงานลูกค้า (Out Source)

เอสทีอคิดค่าบริการ Out Source แพงไหม?

การคิดค่าบริการของเราจะขึ้นอยู่การตำแหน่งงานของพนักงาน และจำนวนทำงานค่ะ หากเปรียบเทียบระหว่างพนักงานประจำกับพนักงาน outsource แล้ว พนักงาน Out Source สามารถช่วยท่านได้มากกว่า โดยท่านไม่ต้องกังวลในการฝึกอบรมพนักงานใหม่ หรือต้องจ่ายค่าสวัสดิการต่าง ๆ โบนัส อะไรต่อมิอะไร ที่เพิ่มค่าใช้จ่ายในอนาคต แต่ค่าบริการของเราจะคงที่ตามความต้องการของลูกค้า

คำถามในหมวดหมู่ :
งานตรวจสอบบัญชี (แบบรายปี)

STA มีบริการตรวจสอบอะไรบ้าง?

เรามีบริการตรวจสอบภายใน ตรวจสอบบัญชีทั้งในรูปแบบ องค์กรรัฐ บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชน

คำถามในหมวดหมู่ :
งานตรวจสอบบัญชี (แบบรายปี)

ปริมาณที่สุ่มตัวอย่างในแต่ละธุรกิจขนาดไหนที่กรมสรรพากรพอใจและยอมรับ?

กรมสรรพากรมิได้กำหนดไว้ แต่อยู่ที่ดุลยพินิจของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีว่าจะทำการสุ่มตรวจเป็นปริมาณเท่าใดถึงจะเพียงพอเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอในการเสนอรายงาน

คำถามในหมวดหมู่ :
งานตรวจสอบบัญชี (แบบรายปี)

การยื่นงบการเงิน จำเป็นที่จะต้องยื่นทั้งกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากรใช่หรือไม่?

จำเป็นที่ต้องยื่นทั้งสองที่ ตามที่กฎหมายระบุ โดยการยื่นงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์ และการยื่นงบการเงินพร้อมแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ต่อกรมสรรพากร จะยื่นไม่พร้อมกันก็ได้ แต่จะต้องยื่นภายในกำหนดเวลาที่กระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากรกำหนด งบการเงินทื่ยื่นกับกระทรวงพาณิชย์และที่ยื่นกับกรมสรรพากรจะต้องตรงกัน

bottom of page